บ้านสวย.ไทย | baansuay.in.th
บ้านสวย.ไทย
แบบบ้านสองชั้น

บ้าน 3:1 สัดส่วนที่พอเหมาะ สู่การอยู่อาศัยที่เป็นไปอย่างพอ(ดิบพอ)ดี

by Admin - 13 ก.ย. 2563 เวลา 13:56 314 Views
พื้นที่ -
บ้าน 3:1 สัดส่วนที่พอเหมาะ สู่การอยู่อาศัยที่เป็นไปอย่างพอ(ดิบพอ)ดี
Location : ศาลาธรรมสพน์ เขตทวีวัฒนา กรุงเทพฯ
Site Area : 540 ตารางเมตร
Built Area : 630 ตารางเมตร
Owner : กิตติ สัมมา
Architect : มีชัย เจริญพร BackYardArchitect
Photographer : จิณณวัตร บริหารกิจอนันต์

บ้าน 3:1 สัดส่วนที่พอเหมาะ สู่การอยู่อาศัยที่เป็นไปอย่างพอ(ดิบพอ)ดี
จะเป็นอย่างไร หากการสร้างบ้านสักหนึ่งหลัง มาพร้อมกับโจทย์อันว่างเปล่า “เจ้าของบ้านไม่มีโจทย์ในการออกแบบ เลยให้เราไปดูที่ดิน และถามว่าทำอะไรดี?” จุดเริ่มต้นจากคำถามสู่คำตอบของ "บ้านพอดี" ที่ได้สถาปนิกจาก Backyard Architect มาเป็นผู้รังสรรค์สถาปัตยกรรมหน่วยย่อยนี้ขึ้น โดยนำความสัมพันธ์ของการใช้งานพื้นที่ ผสานทิศทางของแสงและลม รวมถึงนำวิถีธรรมชาติเข้ามาสร้างความสุนทรีย์และเติมเต็มชีวิตให้การอยู่อาศัย ด้วยการมองหาสัดส่วนที่ช่วยให้การอยู่อาศัยของคนและธรรมชาติเป็นไปอย่างพอ(ดิบพอ)ดี

บ้านหลังนี้ลงตัวด้วยสัดส่วน 3:1 โดยแบ่งเป็นพื้นที่ใช้สอยภายในบ้าน 3 ส่วน และพื้นที่สีเขียวอีก 1 ส่วน “พอเราได้คุยเรื่องการใช้งานพื้นที่กับทางเจ้าของ ซึ่งบังเอิญว่าความต้องการใช้งานเขามันตรงกับแนวคิดนี้พอดี เราเลยนำแนวคิดสัดส่วน 3:1 มาคลี่ทั้งหมด ทั้ง Mass ของตัวบ้าน ทั้งสัดส่วนของการใช้งาน รวมถึงการวางเลย์เอาท์โดยใช้สัดส่วนพวกนี้เป็นตัวจัดการ” คุณมีชัย เจริญพร สถาปนิกกล่าว

บ้าน 3:1 สัดส่วนที่พอเหมาะ สู่การอยู่อาศัยที่เป็นไปอย่างพอ(ดิบพอ)ดี
บ้าน 3:1 สัดส่วนที่พอเหมาะ สู่การอยู่อาศัยที่เป็นไปอย่างพอ(ดิบพอ)ดี
มีชัย เจริญพร สถาปนิกผู้ออกแบบจาก BackYardArchitect

เรื่องราวการอยู่อาศัยภายในพื้นที่ซี่ง "พอดี" กับความต้องการ
ด้วยความที่ทางเจ้าของมีเพียงความต้องการที่จะทำพื้นที่ส่วนหนึ่งของบริเวณหน้าบ้านให้กลายเป็น Home Office เล็กๆ ที่สามารถนัดพบปะลูกค้าได้ในบางครั้ง และพื้นที่ห้องนอนที่อยู่ใกล้ชิดกับลูกสาว แต่แยกส่วนของลูกชายออกมาให้เป็นส่วนตัวมากขึ้น จากโจทย์ทั้งสองจึงเกิด Mass รูปทรงของอาคารที่แบ่งพื้นที่ในบ้านเป็นกลุ่มตามลักษณะการใช้งาน โดยเปิดเส้นทางให้ธรรมชาติ 1 ส่วนที่เหลือ ไหลเข้ามาเป็นตัวคั่นระหว่างอาคารทั้งสอง ช่วยเติมเต็มชีวิตและสุนทรียะให้การอยู่อาศัยได้ใกล้ชิดความเป็นธรรมชาติมากกว่าที่เคย

บ้าน 3:1 สัดส่วนที่พอเหมาะ สู่การอยู่อาศัยที่เป็นไปอย่างพอ(ดิบพอ)ดี
บ้าน 3:1 สัดส่วนที่พอเหมาะ สู่การอยู่อาศัยที่เป็นไปอย่างพอ(ดิบพอ)ดี
หากเริ่มต้นจากทางเดินเข้าของบ้าน สถาปนิกเลือกดึงทางเข้ารวมถึงตัวอาคารมาไว้ด้านหลังของที่ดิน เพื่อให้คนที่กำลังจะเดินเข้าสู่บ้าน เกิดความผ่อนคลายจากบรรยากาศสีเขียวของธรรมชาติก่อนจะเข้ามาใช้ชีวิตภายในบ้าน ในการดึงระยะทางเดินให้ยืดเข้ามา ยังมีข้อดีตรงที่สามารถซ่อน Service Line อย่างห้องครัวไทย ห้องแม่บ้าน และห้องนอนแม่บ้าน เอาไว้ด้านข้างของบ้านได้ โดยไม่ไปรบกวนโซนที่อยู่อาศัยหลักมากนัก และยังติดกับพื้นที่โรงจอดรถ ซึ่งสะดวกต่อการขนย้ายหรือถ่ายเทของเมื่อต้องการ

บ้าน 3:1 สัดส่วนที่พอเหมาะ สู่การอยู่อาศัยที่เป็นไปอย่างพอ(ดิบพอ)ดี
บ้าน 3:1 สัดส่วนที่พอเหมาะ สู่การอยู่อาศัยที่เป็นไปอย่างพอ(ดิบพอ)ดี
แปลนชั้น 1 และชั้น 2 บ้านพอดี (Photo Credit: BackYardArchitect)
ไม่เพียงแต่พื้นที่สีเขียว การออกแบบบ้านหลังนี้ยังให้ความสำคัญกับทิศทางของแสงธรรมชาติ โดย Mass อาคารที่อยู่ทางทิศใต้จะช่วยบังแดดที่ส่องเข้ามาในยามบ่าย แต่ในขณะเดียวกันผู้อยู่อาศัยเองก็สามารถออกมาใช้งานพื้นที่สีเขียวทางทิศเหนือได้โดยไม่โดนไอร้อน

บ้าน 3:1 สัดส่วนที่พอเหมาะ สู่การอยู่อาศัยที่เป็นไปอย่างพอ(ดิบพอ)ดี
เมื่อผ่านส่วนทางเข้า เข้าสู่พื้นที่ภายในบ้าน พื้นที่ส่วนกลางอย่างห้องนั่งเล่น ห้องรับประทานอาหาร ถูกจัดสรรเป็นพื้นที่แบบ Open Plan ทั้งหมดเพื่อเชื่อมโยงถึงกัน สร้างความสัมพันธ์ที่ยังมองเห็น หรือเอื้อให้เกิดทำกิจกรรมร่วมกันให้เกิดขึ้นภายในครอบครัว ในส่วนของห้องนั่งเล่น แสงธรรมชาติยังคงเป็นองค์ประกอบที่สถาปนิกใส่ใจ โดยถูกออกแบบในลักษณะ Double Volume และมีผนังกระจกผืนใหญ่เป็นตัวเปิดรับแสงธรรมชาติให้เข้ามาภายในและกระจายไปสู่พื้นที่ต่างๆ ได้อย่างทั่วถึง

“ช่องเฟรมบริเวณห้องนั่งเล่นเป็นจุดที่เราตั้งใจออกแบบให้แสงเข้า แต่มันจะร้อนมากในช่วงบ่ายสองถึงหกโมงเย็น ซึ่งในหนึ่งวันเราจะใช้งานได้ 3 ส่วน อีก 1 ส่วนจะใช้งานไม่ได้เพราะมันค่อนข้างร้อน แต่เราเลือกที่จะไม่ปิดมัน ให้แสงธรรมชาติได้ทำหน้าที่ ได้สร้างประโยชน์ของมันไป แต่เราแก้ปัญหาด้วยการเปิดพื้นที่ส่วนรับประทานอาหารให้เชื่อมไปยังสวนเล็กๆ ด้านหลัง และให้เขามาใช้พื้นที่ส่วนนี้แทน” สถาปนิกอธิบาย   บ้าน 3:1 สัดส่วนที่พอเหมาะ สู่การอยู่อาศัยที่เป็นไปอย่างพอ(ดิบพอ)ดี
บ้าน 3:1 สัดส่วนที่พอเหมาะ สู่การอยู่อาศัยที่เป็นไปอย่างพอ(ดิบพอ)ดี
แสงธรรมชาติที่ส่องเข้าสู่ใจกลางบ้าน ยังเป็นตัวช่วยในการแบ่ง Mass อาคาร 3:1 ให้ชัดเจนมากขึ้นในความรู้สึก เมื่อมีลมธรรมชาติพัดเข้าสู่ภายใน เงารำไร ผ่านพุ่มไม้ที่พาดเข้าสู่สเปซ สนามหญ้าที่เปิดให้เด็กๆ ออกมาวิ่งเล่นหรือทำกิจกรรมภายนอกบ้านได้บ้าง สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นตัวช่วยลดความแข็งกระด้างของอาคารลง และเติมเต็มชีวิตของการอยู่อาศัยให้มีความสุนทรีย์มากยิ่งขึ้น

บ้าน 3:1 สัดส่วนที่พอเหมาะ สู่การอยู่อาศัยที่เป็นไปอย่างพอ(ดิบพอ)ดี
บ้าน 3:1 สัดส่วนที่พอเหมาะ สู่การอยู่อาศัยที่เป็นไปอย่างพอ(ดิบพอ)ดี
ส่วนบริเวณชั้นสองจะเป็นฟังก์ชันที่ค่อนข้างเป็นส่วนตัว โดยสร้างเป็นกรุ๊ปของสเปซขึ้น เกิดเป็นพื้นที่ส่วนกลาง พื้นที่นั่งเล่น พื้นที่ทำการบ้าน แล้วจึงแยกออกไปเป็นห้องนอนคุณพ่อคุณแม่ และห้องนอนของลูกสาว โดยที่พื้นที่ทั้งหมดยังอยู่ในกลุ่มก้อนที่เป็นหนึ่งเดียวกัน ส่วนอีกฝั่งหนึ่งของชั้น ถูกออกแบบไว้สำหรับอนาคต เมื่อลูกชายโตขึ้นและต้องการความเป็นส่วนตัวที่มากขึ้น ซึ่งเราจะเห็นได้ว่า ความต้องการฟังก์ชันทั้งหมดภายในบ้านถูกร้อยเรียงเป็นเรื่องราวเดียวกัน ภายใต้สัดส่วน 3:1

บ้าน 3:1 สัดส่วนที่พอเหมาะ สู่การอยู่อาศัยที่เป็นไปอย่างพอ(ดิบพอ)ดี
บ้าน 3:1 สัดส่วนที่พอเหมาะ สู่การอยู่อาศัยที่เป็นไปอย่างพอ(ดิบพอ)ดี
สัดส่วน 3:1 สู่หน้าตา และวัสดุของบ้านพอดี

ไม่เพียงเท่านั้น ตัวเลข 3:1 ยังถูกนำมาใช้ในสัดส่วนของรูปทรงอาคารและสะท้อนผ่านวัสดุในส่วนต่างๆ ของบ้าน โดย Mass ของอาคารสัดส่วน 3 สถาปนิกนำเสนอผ่านสีโทนเข้ม อย่างสีเทา ดำ ส่วนอีก 1 ส่วนที่เหลือถูกออกแบบให้เป็นสีโทนสว่าง อย่างสีขาว เพื่อให้ก้อนอาคารที่มีมวลมากกว่าเป็นแบคกราวด์ให้ก้อนที่น้อยดูส่วางและเด่นขึ้นมาเท่าๆ กัน

เพื่อป้องกันไม่ให้บ้านดูแข็งกระด้างจนเกินไปนัก เราจึงเห็น ไม้ ผสมผสานเข้ามาเพื่อทำหน้าที่เบรกให้ภาพรวมของสถาปัตยกรรมชิ้นนี้ดูซอฟและมีความเป็นบ้าน อบอุ่น เข้าถึงได้ง่ายมากขึ้น

บ้าน 3:1 สัดส่วนที่พอเหมาะ สู่การอยู่อาศัยที่เป็นไปอย่างพอ(ดิบพอ)ดี
บ้าน 3:1 สัดส่วนที่พอเหมาะ สู่การอยู่อาศัยที่เป็นไปอย่างพอ(ดิบพอ)ดี
บ้าน 3:1 สัดส่วนที่พอเหมาะ สู่การอยู่อาศัยที่เป็นไปอย่างพอ(ดิบพอ)ดี
ด้วยความที่จุดเริ่มต้นของบ้านสร้างขึ้นบนผืนดินเปล่า ที่รายล้อมด้วยที่ดินเปล่าเช่นเดียวกัน ในการออกแบบสถาปนิกจึงมองถึงอนาคต โดยคำนึงถึงความเป็นส่วนตัวจากตำแหน่งของช่องเปิด ซึ่งบริเวณด้านข้างหรือด้านหลังของที่ดิน Mass ของอาคารจะค่อนข้างปิดทึบ กลับกัน บริเวณด้านหน้ากลับเปิดโล่งด้วยการใช้กระจกพร้อมให้ผู้อยู่อาศัยชื่นชมธรรมชาติไปพร้อมๆ กับการมองเห็นความสัมพันธ์ของคนในบ้าน ภาพรวมของบ้านพอดีจึงอยู่ในลักษณะโอบกอดความเป็นธรรมชาติเอาไว้ ซึ่งการออกแบบระแนงกรองแสง สถาปนิกยังตั้งใจให้มีส่วนหนึ่งที่สร้างความสัมพันธ์กับต้นไม้ เสมือนว่าสถาปัตยกรรมและภูมิทัศน์เป็นหนึ่งเดียวกันได้อย่างพอดิบพอดี

บ้าน 3:1 สัดส่วนที่พอเหมาะ สู่การอยู่อาศัยที่เป็นไปอย่างพอ(ดิบพอ)ดี
บ้าน 3:1 สัดส่วนที่พอเหมาะ สู่การอยู่อาศัยที่เป็นไปอย่างพอ(ดิบพอ)ดี
“เราเคยคุยกับเจ้าของบ้านเขาไว้ว่า เราอยากให้บ้านหลังนี้มันดูไม่หวือหวามากนัก อยากให้บ้านดูเรียบง่าย เข้าถึงส่วนต่างๆ ได้ง่าย เราอยากทำบ้านให้มันพอดีกับชีวิตเขา ซึ่งความพอดีในที่นี้ คือ หนึ่ง มันไม่ใหญ่จนเกินไป สอง คือสัดส่วนที่แตกต่างแต่มีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน เหมือนให้สัดส่วนต่างๆ มันเกื้อหนุนกัน ให้บ้านออกมาอยู่ในสัดส่วนที่พอดีๆ” สถาปนิกทิ้งท้าย

บ้าน 3:1 สัดส่วนที่พอเหมาะ สู่การอยู่อาศัยที่เป็นไปอย่างพอ(ดิบพอ)ดี
บ้าน 3:1 สัดส่วนที่พอเหมาะ สู่การอยู่อาศัยที่เป็นไปอย่างพอ(ดิบพอ)ดี
จากการได้เดินชมทั่วทุกมุมของบ้าน ประกอบกับได้รับฟังแนวคิดจากสถาปนิกผู้ออกแบบ เราพบว่า ทุกองค์ประกอบภายในบ้านหลังนี้ ไม่ว่าจะเป็น พื้นที่ธรรมชาติที่แทรกตัวอยู่กับพื้นที่อยู่อาศัยหรือ สีสันคู่ตรงข้ามที่เสริมความเด่นซึ่งกันและกัน สิ่งเหล่านี้ล้วนถูกออกแบบอย่างพอดีภายใต้สัดส่วน 3:1 จากจุดเริ่มต้นจากคำถามจึงกลายเป็นคำตอบ สู่บ้านอันพอเหมาะที่พร้อมรองรับความเป็นอยู่ของครอบครัวได้อย่างสมชื่อ "บ้านพอดี"

เจ้าของผลงาน

Rangsima Arunthanavut
Landscape Architect ที่เชื่อว่าแรงบันดาลใจในงานออกแบบ สามารถเกิดขึ้นได้จากทุกสิ่งรอบตัว และการบอกเล่าเรื่องราวการออกแบบผ่าน "ตัวอักษร" ทำให้งานออกแบบที่ดี "มีตัวตน" ขึ้นมาบนโลกใบนี้